การเลือกซื้อและการเก็บรักษา Hops (2/2)
สวัสดีครับเพื่อน ๆ ที่ได้อ่าน การเลือกซื้อและการเก็บรักษา Hops (1/2) มาแล้วนั้น วันนี้จะเป็นตอนจบครับ
เมื่อครั้งที่แล้วเราจบตรงเรื่องของรายละเอียดที่ต้องทราบก่อนเมื่อจะซื้อ Hops จากผู้จัดจำหน่าย … วันนี้เราจะมาดูวิธีการเก็บรักษา Hops ที่ถูกวิธีกันนะครับ
คนต้มเบียร์ส่วนมากจะคุ้นเคยกับธรรมชาติความบอบบางของ Hops ว่าสูญเสียคุณภาพความขม (Bitterness) และน้ำมันหอมระเหย (Aroma) ไปตามกาลเวลา
สารเคมีที่อยู่ใน Hops มีหลัก ๆ อยู่ด้วยกัน 4 ชนิด ดังนี้
- Alpha Acids
- Beta Acids
- Essential Oil
- Flavonoids
สารเคมีเหล่านี้จะถูกลดทอนลงตั้งแต่เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรและผู้ผลิตจะเร่งเก็บเกี่ยวและแปรรูปให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด
หลังผ่านการอบด้วยความร้อนแล้ว Hops จะถูกอัดเป็นก้อนขนาดบรรจุ 200 lb ซึ่งห่อด้วยผ้าใบ ลองดูตามรูปครับ
.
Packing Hops
.
Cold Storage
สาเหตุที่ต้องทำบรรจุภัณฑ์ใหญ่ขนาดนี้เพราะเพื่อรักษาคุณภาพครับ
อย่างที่ทราบกันดีว่าศัตรูของ Hops ก็คืออากาศและความร้อน …
อากาศที่สัมผัสจะทำให้ Hops เสื่อมสภาพและมีโอกาสที่จะทำให้เกิด Off-Flavors เมื่อนำไปผลิตเบียร์
.
ผิวสัมผัสรอบนอกจะเสื่อมคุณภาพเพราะถูกอากาศ แต่ภายในที่ไม่ถูกอากาศโดยตรงจะเสื่อมสภาพอย่างช้า ๆ ซึ่งเกิดจากการที่อากาศค่อย ๆ แทรกซึมเข้าไป
ผู้ผลิตจะชะลอความเสื่อมสภาพโดยนำ Hops Bales เข้าไปเก็บในโกดังที่ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ -26°F / -3°C โดยจัดเก็บผ่านระบบและจะนำออกมาอีกทีก็ต่อเมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อครับ
.
Pellet Hops ถือเป็น Hops ที่มีคุณภาพด้อยกว่าผลิตภัณฑ์แบบ Leaf Hops …
แต่ Hop Pellets ที่เป็นที่นิยมมากกว่าเพราะอะไรนั้น เรามาดูกันตามเหตุผลด้านล่างเลยครับ
1. ด้วยเรื่องของราคาที่ถูกกว่าเพราะว่านำ Leaf Hops ที่เก็บมาแล้วระยะหนึ่ง มาบดแปรรูปเป็น Pellet Hops โดยสภาพจะเสื่อมคุณภาพลงไปอีกเล็กน้อย
2. ผู้ใช้นำไปเก็บรักษาได้ง่ายกว่าและใช้พื้นที่เก็บไม่มาก
3. สะดวกในการใช้เพราะมีหลายขนาด เช่น แพ็คเก็จที่เล็กสุดใช้ได้ครั้งละ 1 oz.
.
ตารางแสดงค่าตั้งต้นความเสื่อมสภาพของ Hops ชนิดต่าง ๆ เมื่อเราซื้อจากผู้ผลิต
Table I – Values for percent lost* for common hop varieties. | |
Variety | Percent Lost (%) |
Cascade | 50 |
Centennial | 37 |
Chinook | 32 |
Cluster | 17 |
Crystal | 49 |
East Kent Goldings | 45 |
Eroica | 40 |
Fuggle | 37 |
Galena | 15 |
German Spalter | 45 |
Hallertauer (domestic) | 45 |
Hallertauer Hersbrucker | 40 |
Hallertauer Northern Brewer | 25 |
Hallertauer Mittelfrueh | 46 |
Hersbrucker (domestic) | 50 |
Liberty | 55 |
Mt. Hood | 45 |
Northern Brewer (domestic) | 20 |
Nugget | 25 |
Perle (domestic) | 15 |
Pride of Ringwood | 44 |
Saazer (Czech) | 50 |
Spalt (domestic) | 50 |
Strisselspalt (France) | 35 |
Styrian Goldings‡ | 37 |
Tettnang Tettnanger | 42 |
Tettnanger (domestic) | 42 |
Willamette | 37 |
*At 20 °C (68 °F) for 6 months with no barrier packaging. | |
†Data from references 1 and 2. 1.Gail Nickerson, personal communication, 1993. 2.Hop Variety Specifications (Hopunion USA, Yakima, Washington, April 1993). |
|
‡Styrian Goldings are actually Fuggles grown in Yugoslavia. |
.
ตารางแสดงตัวเลขในการคำนวณค่าความเสื่อมตาม % ของชนิด Hops
Table II – Rate constants for various values of percent lost. | |||||||
Percent Lost | Rate Constant | Percent Lost | Rate Constant | Percent Lost | Rate Constant | Percent Lost | Rate Constant |
(%) | (k) | (%) | (k) | (%) | (k) | (%) | (k) |
10 | 0.00059 | 23 | 0.00145 | 36 | 0.00248 | 49 | 0.00374 |
11 | 0.00065 | 24 | 0.00152 | 37 | 0.00257 | 50 | 0.00385 |
12 | 0.00071 | 25 | 0.0016 | 38 | 0.00266 | 51 | 0.00396 |
13 | 0.00077 | 26 | 0.00167 | 39 | 0.00275 | 52 | 0.00408 |
14 | 0.00084 | 27 | 0.00175 | 40 | 0.00284 | 53 | 0.00419 |
15 | 0.0009 | 28 | 0.00183 | 41 | 0.00293 | 54 | 0.00431 |
16 | 0.00097 | 29 | 0.0019 | 42 | 0.00303 | 55 | 0.00444 |
17 | 0.00104 | 30 | 0.00198 | 43 | 0.00312 | 56 | 0.00456 |
18 | 0.0011 | 31 | 0.00206 | 44 | 0.00322 | 57 | 0.00469 |
19 | 0.00117 | 32 | 0.00214 | 45 | 0.00332 | 58 | 0.00482 |
20 | 0.00124 | 33 | 0.00222 | 46 | 0.00342 | 59 | 0.00495 |
21 | 0.00131 | 34 | 0.00231 | 47 | 0.00353 | 60 | 0.00509 |
22 | 0.00138 | 35 | 0.00239 | 48 | 0.00363 |
.
ตารางแสดงค่าตัวเลขในการคำนวณจากอุณหภูมิที่จัดเก็บ Hops
Table III – Temperature factors used for determining rate of α-acid lost at various storage temperature. | |||||||||||
Temperature | Factor | Temperature | Factor | Temperature | Factor | Temperature | Factor | ||||
(°C) | (°F) | (°C) | (°F) | (°C) | (°F) | (°C) | (°F) | ||||
20 | 68 | 1 | 7 | 44.6 | 0.548 | –6 | 21.2 | 0.301 | –19 | –2.2 | 0.165 |
19 | 66.2 | 0.955 | 6 | 42.8 | 0.524 | –7 | 19.4 | 0.287 | –20 | –4 | 0.157 |
18 | 64.4 | 0.912 | 5 | 41 | 0.5 | –8 | 17.6 | 0.274 | –21 | –5.8 | 0.15 |
17 | 62.6 | 0.871 | 4 | 39.2 | 0.477 | –9 | 15.8 | 0.262 | –22 | –7.6 | 0.144 |
16 | 60.8 | 0.831 | 3 | 37.4 | 0.456 | –10 | 14 | 0.25 | –23 | –9.4 | 0.137 |
15 | 59 | 0.794 | 2 | 35.6 | 0.435 | –11 | 12.2 | 0.239 | –24 | –11.2 | 0.131 |
14 | 57.2 | 0.758 | 1 | 33.8 | 0.416 | –12 | 10.4 | 0.228 | –25 | –13 | 0.125 |
13 | 55.4 | 0.724 | 0 | 32 | 0.397 | –13 | 8.6 | 0.218 | –26 | –14.8 | 0.119 |
12 | 53.6 | 0.691 | –1 | 30.2 | 0.379 | –14 | 6.8 | 0.208 | –27 | –16.6 | 0.114 |
11 | 51.8 | 0.66 | –2 | 28.4 | 0.362 | –15 | 5 | 0.198 | –28 | –18.4 | 0.109 |
10 | 50 | 0.63 | –3 | 26.6 | 0.345 | –16 | 3.2 | 0.189 | –29 | –20.2 | 0.104 |
9 | 48.2 | 0.602 | –4 | 24.8 | 0.33 | –17 | 1.4 | 0.181 | –30 | –22 | 0.099 |
8 | 46.4 | 0.574 | –5 | 23 | 0.315 | –18 | –0.4 | 0.173 |
.
ตารางแสดงค่าตัวเลขในการคำนวณจากการจัดเก็บ Repackaging Hops
Table IV – Storage factors for primary storage methods. | |
Storage Conditions | Storage Factor |
Not sealed or sealed in poly bags | 1* |
Sealed in barrier packaging, airtight jars, but not free from oxygen | 0.75† |
Sealed in barrier packaging, airtight jars under vacuum or inert atmosphere such as nitrogen or carbon dioxide | 0.5‡ |
*No adjustment required. | |
†Estimated median value for median-quality storage method. | |
‡Value derived experimentally. |
.
ตัวอย่างการคำนวน
เมื่อเราซื้อ Cascade hops AA 6.4% จากผู้ขายมาแล้ว 30 วัน และจะต้มเบียร์ในอีก 7 วันข้างหน้า โดยการเก็บที่ -10°C ยังคงเป็นแพ็กเกจเดิม
จะมีการคำนวณค่าความเสื่อมดังนี้
สูตร Future Alpha = A*1/e(k*tf*sf*Days)
A = Alpha Acids ของ Hops แต่ละชนิดที่เราเลือกใช้
1 = รูปแบบ Packaging Not Sealed or Sealed in Poly Bags (Table IV)
k = ตารางแสดงตัวเลขในการคำนวณค่าความเสื่อมตาม % ของชนิด Hops (Table II)
tf = ตารางแสดงค่าตัวเลขในการคำนวณจากอุณหภูมิที่จัดเก็บฮอพส์ Hops (Table III)
sf = ตารางแสดงค่าตัวเลขในการคำนวณจากการจัดเก็บ Repackaging Hops (Table IV)
days = จำนวนวันตั้งแต่ที่เราซื้อมา
สูตรจะออกมาตังนี้ Future Alpha = 6.4*1/e(0.00385*0.228*0.5*37) ค่า Future Alpha ที่ได้จะเป็น 6.3% โดยประมาณซึ่งแทบจะไม่แตกต่าง
ลองดูอีกตัวอย่างในการจัดเก็บครับ
Future Alpha = 6.4 * 1 / e (0.00385 * 1 * 1 * 37) ค่า Future Alpha ที่ได้จะเป็น 5.6% ซึ่งจะเห็นว่าการจัดเก็บมีผลเป็นอย่างมาก
สิ่งจำเป็นในการเลือกซื้อและดูความสมบูรณ์ของ Hops ที่เราซื้อมาครับ
- แหล่งที่มา/สถานที่ปลูก ต้องเป็นแหล่งที่น่าเชื่อถือ
- วันเดือนปีที่เก็บเกี่ยวผลผลิต มีข้อมูลอ้างอิงและตรวจสอบได้
- บรรจุภัณฑ์เป็นบรรจุภัณฑ์แน่นหนา ไม่มีการการรั่วซึมหรือสัมผัสอากาศ
- การเก็บรักษาต้องอยู่ในอุณหภูมิที่คงที่ แช่แข็งได้ยิ่งดี ไม่มีการสัมผัสอากาศหรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงบ่อย
- สีไม่เปลี่ยน ไม่เป็นสีดำหรือคล้ำ (เมื่อฮอพส์สัมผัสอากาศบ่อยจะเปลี่ยนสีและมีขนาดเล็กลง)
เพื่อน ๆ อย่าลืมสังเกตกันนะครับ เพราะการต้มเบียร์นั้น เราต้องรอเป็นเดือนอย่างใจจดใจจ่อ เราก็อยากดื่ม หากผิดหวังมาจะนอนไม่หลับนะครับ
แล้วจะนำการทดลองต้มเบียร์ที่ใช้ Hops เก่าข้ามปีมาให้อ่านกันครับ
สูตรข้างบนใครไม่เก่งเลข ไม่เป็นไรครับเดียวจะเอาตัวช่วยมาให้ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ