แก้ไขความซ่า ตอนที่ 1/3 – Beer Priming
สวัสดีครับเพื่อน ๆ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการแก้ไขเบียร์ที่ซ่าเกินไป (Over-Carbonation) และเบียร์ไม่มีความซ่า (Under-cฉarbonation)
ก่อนอื่นเพื่อน ๆ Brewers ทุกท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่าเบียร์แต่ละสไตล์ต้องการความซ่าอยู่ที่เท่าไรและต้องการแช่เย็นช่วงเวลา Carbonation ที่อุณหภูมิเท่าไร
แต่สำหรับเพื่อนนักต้มมือใหม่หรือผู้ที่สนใจเราจะสรุปกันสั้น ๆ ครับ
การเพิ่มความซ่าให้เบียร์ในกรณีบรรจุขวดคือ การเพิ่มน้ำตาลลงไปในขั้นตอนการบรรจุขวด
ทำได้ 2 กรณีด้วยกัน
- ใส่น้ำตาลโดยตรงลงไปในขวดที่เราต้องการบรรจุเบียร์
- ใส่น้ำตาลที่ผ่านการต้มเดือดแล้วทำให้เย็นที่อุณหภูมิ 21°C – 25 °C ใส่ลงถังที่เราจะถ่ายเท Wort ที่ผ่านการหมักตามเวลาเพื่อบรรจุลงขวด
.
เราจะพูดถึงวิธีที่ 2 เท่านั้น เพราะวิธีแรกมีความเสียงในเรื่อง 1.การติดเชื้อจากน้ำตาลที่ไม่ได้ผ่านการต้มฆ่าเชื้อ และ 2.ปริมาณที่ไม่เท่ากันในการใส่น้ำตาลแต่ละขวด
สิ่งที่เราต้องทราบในการทำให้เบียร์ซ่ามีอยู่ด้วยกันดังนี้
- สไตล์ของเบียร์
- ความซ่าที่ต้องการ
- อุณหภูมิที่ต้องการในช่วงแช่ให้เบียร์ซ่า (Carbonation)
- น้ำตาลที่ใช้
กฎว่าด้วยแก๊ส – Ideal Gas
PV = nRT, where:
- ความดันของแก๊ส
- ปริมาณของแก๊ส
- ปริมาณของแก๊ส เป็นจํานวนโมล
- เป็นค่าคงที่สากลของแก๊ส
- อุณหภูมิสัมบูรณ์ของแก๊ส
ที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน 1 โมลของแก๊ส มีปริมาณ 22.4 ลิตร ต่อปริมาตร 22.4 ลิตรต่อโมล
อย่างไรก็ตามค่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิเป็น 22.4 ลิตร/โมล ที่ 32°F (0°C อุณหภูมิที่กำหนดสำหรับอุณหภูมิและความดันมาตรฐาน)
ที่อุณหภูมิ 70°F (21°C) ค่าคงที่ของแก๊สคือ 24.5 ลิตร/โมล การใช้จำนวนนี้และมวลโมเลกุลของน้ำตาลแต่ละชนิด เราสามารถคำนวณ CO2/ลิตร ในเบียร์ได้ดังนี้
สำหรับ 70°F (21°C) ปริมาตรแก๊สอยู่ที่ 24.5 ลิตร/โมล:
เราไม่สามารถแสดงเอกสารรวมถึงข้อมูลบางส่วนให้ทราบได้เนื่องจากติดในเรื่องสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา จึงนำเสนอให้ได้ทราบเพียงว่า การคำนวณนั้นต้องคำนวณจากปัจจัยอะไรบ้าง …
แต่เรามีสิ่งที่ทำให้ง่ายและสะดวกขึ้นในการบรรจุขวด จากการลองใช้แอปพลิเคชั่นหลายค่าย เราเลือกแอปพลิเคชั่นตัวนี้มาให้เพื่อน ๆ ลองใช้ดู มีรายละเอียดให้เลือกค่อนข้างครบและไม่เสียค่าใช้จ่ายครับ
Captainbrew Homebrew Calculators
หลังจากลงแอปพลิเคชั่นแล้ว ตามภาพที่ 1 เลือก Calculator
ภาพที่ 2 เลือกที่ Priming Sugar Calculator
.
ภาพที่ 3. เลือก Style เบียร์ที่ต้ม > เลือกความซ่าต่อหน่วย > เลือกอุณหภูมิที่ต้องการแช่ช่วง Carbonation > เลือกปริมาณเบียร์ที่มีในการบรรจุขวด แล้วกดคำนวณ
.
ภาพที่ 4. ผมเลือกเป็นตัวอย่าง เนื่องจากมี Black Wheat Pineapple รอบรรจุอยู่ครับ
.
ภาพที่ 5. หลังจากกดให้โปรแกรมคำนวณแล้วจะมีหน้าใหม่แสดงให้เพื่อน ๆ ทราบ ว่าควรใช้น้ำตาลชนิดใดและปริมาณเท่าไร
เท่านี้เพื่อน ๆ ก็สามารถใช้ปริมาณน้ำตาลได้ถูกต้องและตรงตามความต้องการได้แล้วครับ
ตอนแรกจะเขียนแค่การแก้ไขเท่านั้น พอเขียนจริง ๆ ยาวไปอีก ขอยกเรื่องการแก้ไขไว้บทความหน้าแล้วกันนะครับ แต่ถ้าเพื่อน ๆ ท่านใดประสบปัญหาต้องการแก้ไขด่วน Inbox Facebook มาถามได้นะครับ
ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามครับ